ภาพรวมของนโยบายและแนวปฏิบัติการกำกับดูแลกิจการที่ดี
บริษัทฯ คำนึงถึงความสำคัญในเรื่องของการดำรงรักษาไว้ซึ่งหลักธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นปัจจัยในการสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น และช่วยเสริมสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น บริษัทฯ จึงมุ่งเน้นส่งเสริมการดำเนินกิจการของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 (Corporate Governance Code: “CG Code”) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยแบ่งออกเป็น 5 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น
บริษัทฯ ตระหนักและให้ความสำคัญถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม มีการสนับสนุน ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกราย ทุกกลุ่ม ได้ใช้สิทธิต่างๆ ทั้งในฐานะนักลงทุนในหลักทรัพย์ และในฐานะเจ้าของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และโปร่งใสผ่านช่องทางการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและเว็บไซต์ของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิของตนขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย ซึ่งรวมถึงสิทธิการซื้อขายหรือโอนหุ้น การได้รับส่วนแบ่งปันผลจากบริษัทฯ สิทธิการเข้าร่วมประชุมเพื่อมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนและเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและซักถามในที่ประชุมผู้ถือหุ้น นอกเหนือจากสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ข้างต้นแล้ว บริษัทฯได้ดำเนินการในเรื่องอื่นๆ ที่เป็นการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นเพิ่มเติม ดังนี้
1.1 ) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
บริษัทฯ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจนและทันต่อเหตุการณ์ โดยเปิดเผยข้อมูลผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ฯ สื่อหรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมถึงเว็บไซต์ของบริษัทฯ และจัดให้มีช่องทางที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยสามารถติดต่อขอข้อมูลได้โดยตรงผ่านทาง E-mail Address และเบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์
1.2 ) การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
1.2.1 ) การจัดทำหนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
- บริษัทฯ จัดส่งหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นพร้อมทั้งข้อมูลประกอบการประชุมตามวาระต่างๆ โดยกำหนดวาระการประชุมไว้เป็นเรื่องๆ อย่างชัดเจน พร้อมความเห็นของคณะกรรมการ รวมถึงข้อบังคับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผู้ถือหุ้น หนังสือมอบฉันทะ ส่งให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาล่วงหน้าอย่างน้อย 21 วันก่อนวันประชุม ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดทำหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นฉบับภาษาอังกฤษและเผยแพร่พร้อมกับหนังสือเชิญประชุมฉบับภาษาไทย เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติ
- บริษัทฯ เผยแพร่หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ และตลาดหลักทรัพย์เป็นการล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 28 วัน สำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น และได้ประกาศผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1.2.2 ) การมอบฉันทะในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น
- เพื่ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้กรรมการอิสระหรือบุคคลใดๆ เข้าร่วมประชุมแทนตนได้ โดยใช้หนังสือมอบฉันทะแบบหนึ่งแบบใดที่บริษัทฯ ได้จัดส่งไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม รวมถึงระบุเอกสาร/หลักฐานที่ใช้ในการมอบฉันทะและไม่มีเงื่อนไขที่ยากต่อการมอบฉันทะ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดทิศทางการออกเสียงลงคะแนนได้ตามแบบที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์กำหนด พร้อมข้อมูลรายชื่อของกรรมการอิสระของบริษัทฯ ซึ่งสามารถเป็นผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้นได้ สำหรับผู้ถือหุ้นที่เป็นนักลงทุนสถาบันหรือผู้ถือหุ้นที่เป็นนักลงทุนต่างประเทศและแต่งตั้งให้คัสโตเดียน (Custodian) ในประเทศไทยเป็นผู้รับฝากและดูแลหุ้น บริษัทฯ ได้ประสานงานเรื่องเอกสารและหลักฐานที่ต้องแสดงก่อนเข้าร่วมประชุมเป็นการล่วงหน้า เพื่อให้การลงทะเบียนในวันประชุมเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น
1.2.3 ) วิธีการลงคะแนนและวิธีการนับคะแนน
- บริษัทฯ ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้เสียงลงคะแนนโดยให้ความสำคัญกับทุกระเบียบวาระ โดยได้ชี้แจงวิธีการลงคะแนนและวิธีการนับคะแนนอย่างชัดเจน การออกเสียงลงคะแนนจะนับ 1 หุ้น เป็น 1 เสียง โดยบริษัทฯ ได้จัดให้มีตัวแทนจากสำนักกฎหมายมาเป็นผู้สังเกตการณ์ ในการนับคะแนนด้วยเพื่อความโปร่งใสและมีการจัดแยกการลงคะแนนเสียงสำหรับแต่ละเรื่องอย่างชัดเจน เพื่อรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้น การนับคะแนนจะถือเสียงข้างมากเป็นมติ ยกเว้นกรณีการลงมติที่กำหนดให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
- การจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้ถือหุ้นสามารถลงคะแนนเสียงผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละวาระที่ประธานในที่ประชุมเปิดให้ลงคะแนนเสียงซึ่งให้ผู้ถือหุ้นเลือกทำการลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระ
- ประธานในที่ประชุมจะประกาศให้ที่ประชุมทราบผลการลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระหลังจากการออกเสียงลงคะแนนในแต่ละวาระสิ้นสุดลง โดยจะแยกเป็นคะแนนเสียง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย งดออกเสียง และบัตรเสีย ว่ามีทั้งหมดกี่เสียง และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละเท่าใดของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุม หรือซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในแต่ละวาระที่เกี่ยวข้องและมีการรวบรวมข้อมูลจราจรอิเล็กทรอนิกส์ (Traffic Data) ตามข้อกําหนดแนบท้ายประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.2.4 ) การเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถส่งคำถามเกี่ยวกับบริษัทฯ ได้ล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น
บริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งคำถามเกี่ยวกับการประชุมถึงบริษัทฯ ล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 28 วัน โดยดำเนินการแจ้งทั้งบนช่องทางของเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ เว็บไซต์นักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัทฯ และบนหนังสือเชิญประชุมของบริษัทฯ อีกทั้ง ในแต่ละวาระการประชุม บริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้สอบถาม แสดงความความคิดเห็น เสนอข้อแนะนำต่างๆอย่างไม่จำกัดในระหว่างการประชุมภายใต้กรอบระยะเวลาที่เหมาะสมของการประชุมที่ดี
1.2.5 ) การเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถเสนอวาระการประชุมและเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการ
- บริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอเรื่องเพื่อพิจารณาบรรจุเป็นวาระในการประชุมและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อเข้ารับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเป็นการล่วงหน้าได้
1.2.6) กำหนดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 4 เดือนนับจากวันสิ้นสุดรอบบัญชี
- ในปี 2567 บริษัทฯ มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น (ในระหว่างปีไม่มีการจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น) เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 น. ในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting ) ณ ห้องประชุม อาคารเอ็กเชนทาวเวอร์ เลขที่ 388 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โดยใช้ระบบควบคุมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท ควิดแลบ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้าน e-meeting ที่ได้รับการรับรองจาก ETDA (เลขที่หนังสือรับรอง สพธอ.65-006)
- บริษัทฯ ได้เผยแพร่แนวปฏิบัติการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) และคู่มือสำหรับวิธีการเข้าประชุมสามัญผู้ถือหุ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านทางเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์และบริษัทฯ
- เนื่องจากเป็นรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) สำหรับผู้ถือหุ้นที่ลงทะเบียนและมอบฉันทะมาล่วงหน้าแล้วนั้นบริษัทฯ ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและ Barcode เพื่อความโปร่งใสและง่ายต่อการลงทะเบียนของผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นที่แสดงความประสงค์ในการเข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) สามารถเข้าสู่ระบบการประชุมได้ล่วงหน้าก่อนเวลาประชุมอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ตามคู่มือวิธีการเข้าประชุมสามัญผู้ถือหุ้นที่บริษัทฯ ได้เผยแพร่และส่งให้ผู้ถือหุ้นก่อนล่วงหน้า
- ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เลขานุการบริษัทฯ ได้ชี้แจงขั้นตอนวิธีการลงคะแนนเสียง วิธีการนับคะแนน วิธีการสอบถามคำถาม รวมถึงข้อปฏิบัติต่างๆในการเข้าร่วมการประชุมอย่างชัดเจน เพื่อที่การประชุมจะดำเนินไปได้ด้วยความสงบเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
- ประธานในที่ประชุมดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นตามลำดับระเบียบวาระที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือเชิญประชุมและไม่มีการเพิ่มวาระอื่นๆใดในที่ประชุมโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า
- บริษัทฯ ได้เชิญผู้แทนจากบริษัท เบเคอร์แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด เป็นผู้สังเกตการณ์ (Observer) เพื่อให้การประชุมฯ เป็นไปอย่างโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ และจัดให้มีการจดบันทึกรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นอย่างครบถ้วน โดยรายละเอียดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 สามารถดูได้เพิ่มเติมที่เมนูหัวข้อการประชุมผู้ถือหุ้น เว็บไซต์นักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัท
1.2.7) การแจ้งมติที่ประชุมและรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น
- บริษัทฯ เผยแพร่สรุปผลการลงมติในที่ประชุม พร้อมผลคะแนนของแต่ละวาระให้ผู้ถือหุ้นและประชาชนทั่วไปได้รับทราบผ่านช่องทางการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันเดียวกันหลังจากเสร็จสิ้นการประชุม และเผยแพร่รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทภายใน 14 วัน
หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
บริษัทฯ ให้ความสำคัญและดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นรายย่อย นักลงทุนทุกสถาบัน ผู้ถือหุ้นชาวไทย หรือ ผู้ถือหุ้นต่างชาติผู้ถือหุ้นทุกคนถือเป็นเจ้าของบริษัทฯ และมีสิทธิได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึง เพศ อายุ สัญชาติ ทั้งนี้ บริษัทได้เปิดเผยข้อมูลสำคัญของบริษัทฯ แจ้งข่าวการดำเนินงานอันมีนัยสำคัญต่างๆให้ผู้ถือหุ้นรับทราบและจัดประชุมผู้ถือหุ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ผู้ถือหุ้นทุกรายใช้สิทธิของตนในการมีส่วนร่วมบริหารบริษัทฯ
2.1 ) มาตรการเพื่อให้เกิดการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
2.1.1 ) บริษัทฯ มีการกำหนดมาตรการป้องกันการที่กรรมการและผู้บริหารจะนำข้อมูลภายในของบริษัทฯ ไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ดังนี้
- ควบคุมการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร รวมถึงคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ใช้ข้อมูลภายในเพื่อทำการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ก่อนที่ข้อมูลนั้นจะถูกเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปทราบโดยทั่วถึง ก่อนที่งบการเงินจะถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งช่วงระยะเวลาที่มีการควบคุมการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ได้แก่ ช่วงเวลาที่ราคาหลักทรัพย์ของบริษัทฯอาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรม อาทิ การจำหน่ายสินทรัพย์ การเปิดธุรกิจใหม่ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น และช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปิดงบการเงินจนถึงการส่งงบการเงินแก่ตลาดหลักทรัพย์ และ ก.ล.ต. ซึ่งเป็นระยะเวลาไม่เกิน 45 วัน สำหรับงบการเงินรายไตรมาส และระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน สำหรับงบการเงินรายปี นอกจากนี้ ภายหลังจากที่ข้อมูลได้ถูกเผยแพร่แล้วบุคคลข้างต้นควรละเว้นการซื้อหรือขายหลักทรัพย์จนกระทั่งประชาชนที่ได้รับข้อมูลดังกล่าวได้มีเวลาประเมินข้อมูลที่ได้รับในระยะเวลาพอสมควรแล้ว (ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง)
- จำกัดการเข้าถึงข้อมูล (Need-to-know Basis) บริษัทฯ จัดการให้มีการกำหนดสิทธิการเข้าถึงชั้นข้อมูลของพนักงานเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลที่อาจมีความอ่อนไหว และส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทฯ
- บริษัทฯ กำหนดข้อห้ามในการนำข้อมูลภายในไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน และสื่อสารแก่พนักงานทุกคน รวมถึงบทลงโทษทางกฎหมายอย่างชัดเจน
- บริษัทฯ ดำเนินการแจ้งช่วงเวลาต้องห้าม (Blackout Period) และช่วงเวลาที่เหมาะสม
- บริษัทฯ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่เกี่ยวข้อง เรื่องการจัดทำ เปิดเผย และนำส่งรายงานการถือและการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ของคณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร รวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายหรือเทียบเท่าของบริษัท คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สำนักงาน ก.ล.ต.”)
- บริษัทเปิดเผยการถือหุ้นของกรรมการและผู้บริหารทั้งทางตรงและทางอ้อมแยกออกจากกันอย่างชัดเจน โดยแสดงจำนวนหุ้นที่ถือ ณ ต้นปีสิ้นปี และที่มีการซื้อขายระหว่างปี และจัดให้มีการรายงานประจำปีในที่ประชุมคณะกรรมการ
- ให้ความรู้ข้อแนะนำแก่กรรมการรวมทั้งผู้บริหารที่มีหน้าที่ที่จะต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เกี่ยวกับการรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัทฯ หากกรรมการหรือผู้บริหาร รวมถึงคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะที่เข้าข่าย มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
- เพื่อปฎิบัติตาม มาตรา 89/14 ของ พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ บริษัทฯกำหนดให้กรรมการและผู้บริหารต้องรายงานให้บริษัทฯ ทราบถึงการมีส่วนได้เสียของตนหรือของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง กรณีเป็นส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกิจการของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
- เลขานุการบริษัทจัดส่งสำเนารายงานเสนอต่อประธานกรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์มาตรา 89/16 และตลาดหลักทรัพย์กำหนด และรายงานทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ เพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาความเสี่ยงต่อการเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งตามประกาศ ก.ล.ต.
- บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลด้านไอที (ITSC) ขึ้นเพื่อส่งเสริม ดูแล และจัดการการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบรักษาความปลอดภัยด้านไอที เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลภายในหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูล นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังนำระบบมาตรฐาน ISO27001:2022 (Information Security, cybersecurity and privacy protection – Information security management system) ที่องค์การมาตรฐานสากล (International Organization for Standardization หรือเรียกย่อๆ ว่า ISO) มาใช้และปฏิบัติตามอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2565 ซึ่งได้มีการปรับปรุงจาก ISO27001:2013 โดย ISO27001:2022 ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีมาตรการควบคุมความเสี่ยงที่ทันสมัยต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมถึงการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล
2.1.2) บริษัทฯ กำหนดมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ดังนี้
- จัดให้บริษัทฯ มีโครงสร้างการถือหุ้น และการลงทุนในบริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม และมีโครงสร้างการบริหารจัดการชัดเจน
- บริษัทฯ มีการกำหนดมาตรการในการทำรายการระหว่างกันของบริษัทฯ และ บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ผู้บริหารหรือผู้ที่มีส่วนได้เสียจะไม่มีส่วนในการอนุมัติรายการดังกล่าวได้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดให้คณะกรรมการตรวจสอบเข้ามาพิจารณาและให้ความเห็นต่อรายการระหว่างบริษัทฯ และบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งดังกล่าว โดยเปิดเผยไว้ในหัวข้อรายการระหว่างกัน
บริษัทฯ จัดทำ “ระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการรับและการให้ของขวัญ หรือการรับเลี้ยง (Disciplinary and Manner Conducts Concerning the Gift Receiving and Offering) เพื่อให้พนักงานทุกระดับชั้นทราบถึงหลักการ โดยระเบียบดังกล่าวนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรื่องการต่อต้านการคอร์รัปชันนี้ด้วย
กรรมการที่มีส่วนได้เสียในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะไม่ออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น
หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่แข่ง คู่ค้า เจ้าหนี้ ตลอดจนสังคม และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นเรื่องที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยบริษัทฯมีหน้าที่ดูแลรักษาสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มตามข้อตกลงที่มีอยู่อย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามกฎหมาย
หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
4.1) การเปิดเผยข้อมูล
4.1.1) การเปิดเผยสารสนเทศเป็นหนึ่งในหลักการที่มีความสำคัญต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี
บริษัทฯมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจนซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลให้แก่บุคคลภายนอก เพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงินเป็นไปอย่างถูกต้อง เพียงพอ รวดเร็ว และมีความเท่าเทียมกันของการให้ข้อมูลแก่ทุกกลุ่ม รวมทั้งเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยนอกจากจะเปิดเผยข้อมูลผ่านแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 56-1 One report แล้ว ข้อมูลส่วนใหญ่ได้นำเสนอทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษซึ่งช่วยให้ผู้ถือหุ้น ลูกค้า และผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย มีความเท่าเทียมกันและเชื่อถือได้ บริษัทฯ ยังได้ทำการเผยแพร่ธุรกรรมทางการเงินที่สำคัญ แก่นักวิเคราะห์ และนักลงทุน รวมทั้งได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซต์ (http://www.aeon.co.th) ตลอดจนให้ข้อมูลและตอบข้อซักถามนักลงทุนและสื่อมวลชนผ่านทางโทรศัพท์ และทางอีเมลเป็นประจำ
4.1.2) นโยบายความเป็นส่วนตัว (PDPA)
4.2) งานนักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทฯ ได้จัดตั้งหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations Section) เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการให้บริการและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของบริษัทฯ ที่เป็นประโยชน์ ให้แก่นักลงทุนรายย่อยและสถาบันนักวิเคราะห์ ผู้ถือหุ้น และบุคคลอื่นๆ ซึ่งนักลงทุนหรือผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลข่าวสารของบริษัทฯ เช่น ข้อมูลงบการเงิน แบบ 56-1 One Report คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (Management Discussion & Analysis) และข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือ ก.ล.ต. ฯลฯ ได้โดยตรงจากหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์
ข้อมูลการติดต่อกับหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์
ที่อยู่ |
บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เลขที่ 388 ชั้น 27 อาคารเอ็กเชน ทาวเวอร์ ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ |
เว็บไซต์ |
http://www.aeon.co.th เลือกเมนู “นักลงทุนสัมพันธ์” |
โทรศัพท์ |
02-302-4721 ถึง 3 |
|
หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบทบาทความรับผิดชอบและขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการบริษัทฯ มีหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโปร่งใส และอยู่ภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นอย่างยั่งยืน โดยคณะกรรมการจะปฏิบัติงานภายใต้กรอบบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบที่กำหนดไว้ใน Board Charter ซึ่งเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงานของคณะกรรมการ เพื่อให้เกิดความชัดเจน โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
นโยบายเรื่อง การต่อต้านคอร์รัปชันและการให้สินบน
บริษัทอิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ขอปฎิเสธ และไม่ยอมรับการคอร์รัปชันใดๆ ทั้งสิ้น และบริษัทในเครือ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจกับบริษัทฯ ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ ได้กำหนดขั้นตอนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชันและการให้สินบน เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามนโยบายนี้ และจะสอบทานขั้นตอนการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย และรักษาชื่อเสียงของบริษัทฯ โดยพนักงานทุกคนของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ ต้องปฏิบัติตามนโยบายนี้โดยทั่วกัน
วัตถุประสงค์
นโยบายนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้พนักงานทุกคนของบริษัทฯ และบริษัทในเครือปฏิบัติตามมาตรการต่อต้านคอร์รัปชันและการให้สินบนและทบทวนแนวทางปฏิบัติ โครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบ ระบบบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการตรวจสอบ เพื่อต่อต้านการคอร์รัปชันและป้องกันการทุจริตภายในองค์กร
คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลการนำระบบการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและการให้สินบนที่มีประสิทธิภาพไปใช้ในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทได้ตระหนักถึงและให้ความสำคัญสูงสุดต่อการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ตลอดจนส่งเสริมและปลูกฝังให้การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
คำนิยาม
คอร์รัปชัน หมายถึง การแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะโดยการเสนอ (Offering) การให้คำมั่นสัญญา (Promising) การขอ (Soliciting) การเรียกร้อง (Demanding) การให้ หรือรับสินบน (Giving or accepting bribes) ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด หรือการกระทำพฤติกรรมที่ส่อไปในทางคอร์รัปชันกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจกับบริษัทฯ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจ ยกเว้นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้าให้กระทำได้
การให้สินบน หมายถึง รูปแบบหนึ่งของการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกระทำที่เสนอ ให้ หรือรับผลประโยชน์ในรูปแบบใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นตัวเงินหรือไม่ใช่ตัวเงิน โดยมีเจตนาเพื่อมีอิทธิพลต่อการกระทำ การตัดสินใจ หรือพฤติกรรมของบุคคลในตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบอย่างไม่เหมาะสม การให้สินบนยังครอบคลุมถึงการจ่ายเงินเพื่ออำนวยความสะดวก ซึ่งเป็นสิ่งของที่มีมูลค่าทั้งที่เป็นตัวเงินหรือไม่ใช่ตัวเงินที่เสนอให้เพื่อเร่งรัดหรือรับรองการดำเนินการบางอย่าง การกระทำดังกล่าว ไม่ว่าจะดำเนินการโดยตรงหรือโดยอ้อม ถือเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรมและมักละเมิดมาตรฐานทางกฎหมายและองค์กร
การยักยอกทรัพย์ หมายถึง การกระทำโดยทุจริตในการเอาไปหรือใช้เงินทุน ทรัพย์สิน หรือทรัพยากรที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแล โดยทั่วไปมักเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว
ค่ารับรองและของขวัญ หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี ซึ่งรวมถึงค่าที่พัก ค่าโดยสารสำหรับการเยี่ยมชมสถานที่ประกอบการ การศึกษาดูงาน หรือค่าอาหารและเครื่องดื่ม
ค่าอำนวยความสะดวก หมายถึง เงิน สิ่งของ รางวัล หรือสิ่งอื่นใด ที่มอบให้เพื่อจูงใจไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อันจะก่อให้เกิดการเอื้อประโยชน์ เพื่อให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดได้อย่างสะดวกหรือรวดเร็วขึ้น
นโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันและการให้สินบน
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
พนักงานทุกระดับชั้นมีหน้าที่ดังต่อไปนี้:
การแจ้งเบาะแสการกระทำผิดหรือข้อร้องเรียน
บริษัทฯ จัดให้มีช่องทาง และสนับสนุนให้พนักงาน รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียแจ้งเบาะแสของเรื่องราว หรือพฤติกรรมที่น่าสงสัยเกี่ยวกับการกระทำผิดโดยเร็วที่สุด หรือเมื่อพนักงาน ผู้มีส่วนได้เสีย เชื่อหรือสงสัยว่าการกระทำนั้นขัดแย้งกับนโยบายนี้ หรืออาจมีการกระทำผิดเกิดขึ้นได้ในอนาคต
บริษัทฯ จะดำเนินการตรวจสอบโดยไม่เปิดเผยชื่อผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียน เพื่อคุ้มครองผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้แจ้งข้อร้องเรียนดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทฯ จะดำเนินการตามขั้นตอน กระบวนการสืบสวนสอบสวนตามระเบียบที่บริษัทฯ กำหนดไว้ และบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยจะจัดเก็บข้อมูลการแจ้งเบาะแสข้อร้องเรียนเป็นความลับ ซึ่งผู้ที่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลมีเพียงผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
การปกป้องผู้ที่รายงานข้อมูลการคอร์รัปชัน
นโยบายการแจ้งเบาะแส และการปกป้องผู้แจ้งเบาะแสการกระทำผิด
บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ได้จัดให้มีระบบการแจ้งเบาะแส เพื่อเป็นช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนหรือแจ้ง ข้อมูลกรณีพบพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายของบริษัท หรือจรรยาบรรณของอิออน ตลอดจนการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือผิด จริยธรรมภายในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถตรวจพบปัญหาได้ตั้งแต่ระยะแรก ดำเนินการแก้ไขอย่างเหมาะสม และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำใน อนาคต ตัวอย่างพฤติกรรมที่สามารถแจ้งเบาะแสได้ เช่น
ช่องทางการแจ้งเบาะแส
ผู้รับผิดชอบในการรับเรื่องแจ้งเบาะแส ได้แก่ กรรมการผู้จัดการ กรรมการที่รับผิดชอบด้านกฎหมาย กรรมการหรือผู้แทนของกรรมการที่ รับผิดชอบฝ่ายกำกับดูแลกิจการ และผู้รับผิดชอบด้านการกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎระเบียบ รวมถึงที่ปรึกษากฎหมายอิสระ
กรณีพนักงานภายใน: สามารถแจ้งเบาะแสผ่านช่องทางภายในของบริษัทฯ
กรณีผู้แจ้งภายนอก:
1) ส่งจดหมายถึง: ทีมช่วยเหลือการแจ้งเบาะแส ที่อยู่: บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) 388 อาคารเอ็กเชนทาวเวอร์ ชั้น 27 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
2) อีเมล: [email protected]
บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส และยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนหลักการดังกล่าว บริษัทฯ จึงได้ จัดตั้งระบบแจ้งเบาะแสเพื่อเปิดโอกาสให้ “ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม” สามารถรายงานข้อกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมที่น่าสงสัย การทุจริต คอร์รัปชัน หรือการ ละเมิดกฎหมาย กฎระเบียบ หรือข้อบังคับของบริษัทได้อย่างอิสระ การดำเนินการตรวจสอบและการรักษาความลับ เมื่อได้รับการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน บริษัทฯ จะดำเนินการตามกระบวนการสอบสวนและตรวจสอบข้อเท็จจริงตามระเบียบภายในที่กำหนด ไว้ โดยมีการจดบันทึกและจัดทำรายงานการดำเนินการอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาความลับของผู้แจ้งเบาะแสและผู้ ร้องเรียน
ทั้งนี้ บริษัทฯ จะไม่เปิดเผยชื่อหรือข้อมูลส่วนบุคคลของผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียน เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าตัว หรือเป็นไปตามที่ กฎหมายกำหนด โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกจัดเก็บอย่างปลอดภัย และจำกัดสิทธิการเข้าถึงเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตรวจสอบเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจ ว่าผู้แจ้งเบาะแสจะไม่ถูกตอบโต้หรือได้รับผลกระทบจากการแจ้งข้อมูลอันสุจริต
นโยบายการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (AML/CFT/WMD)
บริษัทและบริษัทในเครือมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ด้วยความโปร่งใส ถูกต้อง ครบถ้วน นอกจากนี้ยังเป็นการดำเนินการตามนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ของบริษัท AEON Financial Service Co., Ltd หรือ AFS Group ในฐานะบริษัทในเครือ ได้ตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะผู้ให้บริการทางการเงิน จึงพิจารณาภารกิจด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนการก่อการร้ายฯ จึงกำหนดเป็นภารกิจหลักที่สำคัญระดับสูงสุดของผู้บริหารในการบริหารองค์กร เพื่อป้องกันมิให้บริษัทถูกใช้เป็นเครื่องมือและเส้นทางการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายไว้ดังนี้
นโยบายการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลและข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทมีนโยบายและแนวปฏิบัติที่มุ่งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีส่วนได้เสียทุกราย บริษัทได้ปรับปรุงกระบวนการและแนวปฏิบัติภายในของบริษัทให้เป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้บังคับ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาศักยภาพและสร้างความตระหนักรู้ให้แก่บุคลากรในองค์กร จึงจัดให้มีการอบรมเรียนรู้ในเรื่องของหลักเกณฑ์และข้อแนะนำในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคลากรภายในบริษัทฯ เพื่อให้บุคลากรทุกคนได้รับทราบและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทฯในการเก็บรวบรวม การใช้และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และเพื่อให้ข้อมูลได้รับการดูแลอย่างปลอดภัย เป็นความลับ และจะไม่ถูกนำมาเปิดเผย เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลหรือมีฐานทางกฎหมายให้สามารถกระทำได้ นอกจากนี้ ยังจัดให้มีระบบการบริหารควบคุมความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล บริษัท ได้จัดให้มีนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy Statement) หรือประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice) ฉบับสำหรับลูกค้า ผู้ถือหุ้น บุคคลภายนอก และพนักงาน บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงวัตถุประสงค์ ข้อมูลที่จะมีการเก็บรวบรวม ระยะเวลา ฐานทางกฎหมายในการเก็บข้อมูล กรณีที่อาจเปิดเผยข้อมูลให้บุคคลภายนอกทราบ รวมถึงรายละเอียดอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
บริษัท ยังให้ความสำคัญกับการใช้สิทธิตามกฎหมายของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล จึงจัดให้มีช่องทางการใช้สิทธิและรับเรื่องร้องเรียนที่เหมาะสม โดยบริษัทฯ มีนโยบายจะดำเนินการสืบสวนสอบสวนและจัดการภายในระยะเวลาอันสมควร
นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัทและบริษัทในเครือให้ความสำคัญกับการเติบโตของธุรกิจควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ทั้งด้านการสื่อสารนโยบาย แนวปฏิบัติที่ต้องบังคับใช้อย่างจริงจัง และการทบทวนและตรวจสอบนโยบายให้สอดคล้องและเป็นไปตามสถาณการณ์ปัจจุบัน เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน และยกระดับพร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า พนักงาน คู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ ตลอดจนชุมชนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
แนวทางปฏิบัติ
บริษัทนำวิสัยทัศน์แห่งอนาคตของกลุ่มบริษัทอิออนมาเป็นแนวทางในการส่งเสริมเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชนต่อทุกบุคคลทั้งองค์กร และปฏิบัติและปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคนอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการแสดงออก การได้รับค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรม รวมทั้งต่อต้านการคุกคาม การเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ การค้ามนุษย์ แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับ บริษัทได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ ดังนี้
- ไม่เลือกปฏิบัติ และจะปฏิบัติอย่างเสมอภาค ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กทุกกลุ่ม
- คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิต การคุ้มครองสิทธิ และโอกาสในการพัฒนาเด็กอย่างครบถ้วน
- คำนึงถึงผลที่ดีที่สุดต่อเด็กเพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันการกระทำที่ลดทอนสิทธิหรือริดรอนสิทธิเด็ก
- ส่งเสริมให้เด็กได้มีส่วนร่วมและมีโอกาสแสดงความคิดเห็นผ่านกิจกรรมด้านสังคมของบริษัท
- ประกาศนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน: บริษัทดำเนินการประกาศนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทต่อสาธารณะและเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนผ่านรายงานความยั่งยืนหรือรายงานประจำปี
- การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน: บริษัทประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินงานในส่วนต่างๆ รวมถึงห่วงโซ่อุปทาน
- การป้องกันและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน: บริษัทจัดทำมาตรการในการป้องกันและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านและนำหลักการด้านสิทธิมนุษยชนเข้ามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงานของบริษัทและการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย
- การตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน: บริษัทตรวจสอบประเมินประเมินผลการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอและมีการปรับปรุงมาตรการและแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับสถานการณ์เมื่อพบว่ามีการละเมิดเกิดขึ้น
- การเยียวยาผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน: บริษัทมีมาตรการในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงมีการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีกในอนาคต
- การรายงานผลด้านสิทธิมนุษยชน: บริษัทจัดทำรายงานผลการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นรวมถึงการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบอย่างโปร่งใส
บริษัทฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเสมอมา โดยได้พัฒนาระบบภายในและเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน เมษายน 2550 มูลนิธิอิออนประเทศไทย (มูลนิธิฯ) ได้ก่อตั้งขึ้นเนื่องในวาระครบรอบปีที่ 15 ของการก่อตั้งบริษัทฯ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเหลือพัฒนาสังคม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ทั้งนี้ มูลนิธิอิออนประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนหลักจากบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มอิออนอย่างต่อเนื่องในการประกอบกิจกรรมการกุศลตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
การดูแลข้อมูลของบริษัทฯและข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า
บริษัทฯ มีหน่วยงานสนับสนุนงานคุณภาพองค์กร หรือ Corporate Quality Secretariat (CQS) เพื่อให้ความรู้และตระหนักถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบริษัทฯ และข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่ในการเข้าถึงข้อมูลบริษัทฯ ในแต่ละระดับอย่างชัดเจน รวมทั้งจัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานตามข้อบังคับของ
บริษัทฯ ในสถานที่ทำงาน และจัดระเบียบการบริหารความ ปลอดภัยในข้อมูลต่างๆ โดยมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดประเมินผลการปฏิบัติงานให้ได้ตามข้อกำหนดของมาตรฐาน การฝึกอบรม พนักงาน การทบทวนแผนการปฏิบัติงาน การวัดระดับความเสี่ยงในการบริหารงานในทุกส่วนงานเพื่อป้องกัน ความเสี่ยงในทรัพย์สินและข้อมูลของบริษัทฯ และการจัดระเบียบและระบบควบคุม การเข้าออกสถานที่ทำงานในแต่และส่วนงาน รวมถึงการส่งข้อมูลไปยังบุคคลภายนอกองค์กร ฯลฯ
บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2005 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ด้านการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลจากบริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรฐานดังกล่าวเป็นที่รู้จักในฐานะกรอบการทำงานที่ระบุถึงข้อกำหนดในการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยของทรัพย์สินด้านข้อมูล ซึ่งเปรียบเสมือน การรับประกันว่า บริษัทฯ ได้ปกป้องคุ้มครองข้อมูลด้วยวิธีการที่ดีที่สุดเฉกเช่นเดียวกับองค์กรชั้นนำระดับโลก และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลให้มีประสิทธิภาพเป็นอันดับแรกเสมอ
นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9001:2008 อันเป็นมาตรฐานสากลของระบบบริหารงานคุณภาพ จากบริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งการรับรองดังกล่าว เปรียบเสมือนการรับประกันว่า บริษัทฯ จะสามารถให้การบริการที่สอดคล้องต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล รวมทั้งสอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
บริษัทในกลุ่มอิออนมีนโยบายหลักในการตอบแทนสังคมซึ่งเป็นฐานในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในช่วงทศวรรษนี้ได้เกิดภาวะโลกร้อนและภาวะอากาศแปรปรวนไปทั่วโลก กลุ่มบริษัทอิออนจึงให้มีนโยบายในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนและภาวะอากาศแปรปรวน เช่น การปลูกต้นไม้และรักษาแหล่งน้ำ ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดให้มีกิจกรรมปลูกต้นไม้ขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี อาทิเช่น กิจกรรมปลูกป่าที่กำแพงเมืองจีนซึ่งจัดขึ้นโดย
มูลนิธิอิออน เพื่อสิ่งแวดล้อม โครงการปลูกต้นไม้มูลนิธิอิออนประเทศไทย ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี รวมถึงการช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนจากภัยธรรมชาติ อาทิเช่น มอบเงินบริจาคให้กับ “มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย” ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมทั้งในช่วงเกิดเหตุและฟื้นฟูอาชีพหลังเกิดเหตุ โดยการมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบอุทกภัย ณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และบริจาคเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกให้กับเกษตรกรที่รับผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ในจังหวัดปทุมธานี
ในปี 2555 บริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มอิออน ร่วมกับมูลนิธิอิออนประเทศไทย ยังคงให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ป่าไม้ จึงจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ภายใต้โครงการ “ปลูกป่ารวมใจภักดิ์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเฉลิมพระเกียรติ 85 พรรษา” ร่วมกับอุทยานแห่งชาติศรีลานนา อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีอาสาสมัครทั้งจากบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มอิออน และชาวบ้านในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO14001 : 2004 อันเป็นมาตรฐานสากลของระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมจากบริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อสร้างความมั่นใจในการบริการ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ ของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม และได้เผยแพร่นโยบายดังกล่าวให้กับพนักงาน ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสาธารณชนได้รับทราบ
กิจกรรมสาธารณประโยชน์
บริษัทฯ มีนโยบายในการตอบแทนสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดให้มีกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2550 และยังคงจัดให้มีต่อเนื่องไปทุกปี อาทิเช่น กิจกรรม “อิออนร่วมร้อยหัวใจไทยร่วมสมทบทุนเพื่อมูลนิธิชัยพัฒนา ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี กิจกรรมบริจาคโลหิตทุกไตรมาส กิจกรรมเลี้ยงอาหารกลางวันพร้อมมอบทุนการศึกษาและของขวัญให้กับเด็กๆ ผู้ด้อยโอกาสและพิการทางการได้ยิน กิจกรรมบริจาคพจนานุกรมให้แก่เด็กนักเรียนในชนบทที่ขาดแคลน มอบเงินบริจาคให้กับสภากาชาดไทยเพื่อสมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในสาธารณรัฐเฮติ บริจาคอุปกรณ์กันหนาวให้แก่
ผู้ประสบภัยหนาว ณ จังหวัดหนองคายร่วมกับสภากาชาดไทย จัดโครงการ AEON We Care โดยบริจาครถพยาบาลฉุกเฉินให้กับสภากาชาดไทย และบริจาคเงินให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ฯ
ในปี 2555 นอกเหนือจากกิจกรรมการบริจาคโลหิต กิจกรรมมอบเงินช่วยเหลือมูลนิธิเด็กโรคหัวใจ และการบริจาคอุปกรณ์กันหนาวแล้ว บริษัทฯ และบริษัทในกลุ่มอิออน ร่วมกับมูลนิธิอิออนประเทศไทยได้สานต่อโครงการ “ห้องสมุดอิออน” เป็นปีที่ 2 ณ จังหวัดลพบุรีและและบริจาคหนังสือให้กับโรงเรียนในจังหวัดอยุธยา โดยมีเป้าหมายหลักในเพื่อการฟื้นฟูสถานศึกษาหลังประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2554 รวมถึงการคืนชีวิตให้กับห้องสมุดในโรงเรียนระดับประถมถึงมัธยมศึกษาที่ยังขาดแคลน นอกจากนี้ ยังมีการมอบทุนการศึกษาให้กับนิสิตนักศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นทุนการศึกษาแบบต่อเนื่องมอบให้ตั้งแต่ปีที่หนึ่งจนกระทั่งจบการศึกษาในปีที่ 4
และเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2555 มูลนิธิอิออนประเทศไทยได้รับการรับรองจากกระทรวงการคลังให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลลำดับที่ 773 ผู้ที่บริจาคเงินให้กับมูลนิธิฯ สามารถนำใบเสร็จรับเงินที่ออกโดยมูลนิธิฯ เป็นค่าใช้จ่ายในการหักลดหย่อนภาษีได้ในปลายปี
มูลนิธิอิออนประเทศไทย คลิกที่นี่
รายงานความรับผิดชอบคลิกที่ี่