แนะแนววิธีการจัดการ สาระน่ารู้หรือเคล็ดลับดีๆในการใช้บัตรเครดิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงหลายๆเรื่องที่คุณไม่รู้มาก่อน มาอัพเดทกันก่อนใคร ที่นี่ ..
ทุกเรื่องบัตรเครดิตที่คุณควรรู้
ไม่มีใครล่วงรู้เลยว่าอุบัติเหตุรถชนบนท้องถนนจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ทำให้การมีหลักประกันรองรับความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งกฎหมายก็กำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องมี พ.ร.บ.รถยนต์ เพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยในเบื้องต้น แต่สิ่งที่มักจะเป็นข้อสงสัยตามมาคือ “ถ้ามี พ.ร.บ.รถยนต์แล้ว ยังจำเป็นต้องมีประกันรถยนต์ด้วยหรือไม่?” บทความนี้จะพาไปหาคำตอบเรื่องนี้พร้อมๆ กัน!
พ.ร.บ.รถยนต์ หรือมีชื่อเต็มว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 คือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับที่เจ้าของรถยนต์ทุกคันต้องมี ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของรถที่มีชื่อในเล่มทะเบียนรถยนต์หรือผู้เช่าซื้อรถ ก็มีหน้าที่ต้องจัดทำและต่อ พ.ร.บ.รถยนต์อย่างสม่ำเสมอในทุกๆ ปี
เหตุผลที่เรียกว่า “ประกันรถยนต์ภาคบังคับ” เป็นเพราะว่ากฎหมายกำหนดไว้ชัดเจน และหากไม่มี พ.ร.บ.รถยนต์ จะมีโทษปรับตามกฎหมายสูงสุดถึง 10,000 บาท ที่สำคัญคือจะไม่สามารถทำเรื่องต่อภาษีรถยนต์ได้ หากขับรถโดยไม่มี พ.ร.บ.รถยนต์ที่ถูกต้อง ก็จะมีโทษตามกฎหมายตามมาอีกเช่นกัน
การบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องมี พ.ร.บ.รถยนต์ มีเหตุผลเพื่อความปลอดภัยเบื้องต้นของผู้ที่ประสบเหตุจากรถ โดยจะให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยในทันที ไม่ว่าจะเป็นคนขับรถ ผู้โดยสาร คู่กรณี หรือคนเดินถนน ซึ่งความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์ แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน ไม่ว่าจะเป็นการชนแบบใด พ.ร.บ.รถยนต์จะให้ความคุ้มครองทันทีโดยไม่สนถูกผิด โดยมีวงเงินคุ้มครองดังนี้
หลังจากที่มีการสืบสวนและยืนยันได้ว่าคุณเป็นฝ่ายถูกในอุบัติเหตุ พ.ร.บ.รถยนต์ จะชดเชยค่าเสียหายส่วนเกินให้กับผู้เอาประกันภัยทันที โดยความคุ้มครองนี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ดังนี้
หากมี พ.ร.บ.รถยนต์ แล้วเกิดอุบัติเหตุรถชน ก็สบายใจว่าสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ แต่ถ้าไม่มีและเป็นฝ่ายผิด ต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลและค่าซ่อมรถมาชดใช้ให้คู่กรณีที่เป็นฝ่ายถูกเองด้วย
เมื่อพูดถึง ประกันรถยนต์ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึง พ.ร.บ.รถยนต์ หรือที่เรียกว่า ประกันภาคบังคับ ซึ่งเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องมี เพื่อคุ้มครองชีวิตและร่างกายของบุคคลภายนอกในกรณีเกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นผู้โดยสาร หรือคนเดินถนน
แต่ในเรื่องของการคุ้มครองรถยนต์และความเสียหายของคนขับ ยังมีประกันรถยนต์อีกประเภทหนึ่ง ที่สามารถเลือกซื้อเพิ่มเติมเองได้โดยไม่มีกฎหมายบังคับ ซึ่งถูกเรียกว่า “ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ”
โดยประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเป็นประกันภัยที่ออกแบบมาเพื่อให้ความคุ้มครองในระดับที่กว้างกว่า หรือครอบคลุมในกรณีที่ พ.ร.บ.รถยนต์ไม่สามารถรองรับได้ ซึ่งโดยทั่วไปมีทั้งหมด 5 ประเภท แต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง 3 ประเภทหลักที่ได้รับความนิยมและพบได้บ่อยที่สุด เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ได้แก่
ประกันรถยนต์ชั้น 1* เป็นประกันภาคสมัครใจที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุด เหมาะกับรถยนต์ใหม่ ผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นขับรถ หรือผู้ใช้รถเป็นประจำในชีวิตประจำวัน โดยให้ความคุ้มครองทั้งกรณีที่มีและไม่มีคู่กรณี รวมถึงภัยธรรมชาติและการสูญหายของรถ
ประกันรถยนต์ชั้น 2+* เป็นอีกหนึ่งทางเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองในกรณีสำคัญ โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายเบี้ยประกันสูงเท่าประกันรถยนต์ชั้น 1 แต่ได้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม ยกเว้นการขับรถชนที่ ไม่มีคู่กรณี
ประกันรถยนต์ชั้น 3+* เหมาะกับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองในราคาประหยัด ใช้รถน้อย หรือมีรถที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 7 ปี โดยยังคงได้รับความคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ “รถชนรถ” แบบมีคู่กรณี
*ตัวอย่างประกันรถยนต์ชั้น 2+ ของบริษัทประกัน MSIG
*ตัวอย่างประกันรถยนต์ชั้น 3+ ของ ประกันรถยนต์ไทยไพบูลย์ประกันภัย
*เงื่อนไขและความคุ้มครองเป็นไปตามที่บริษัทผู้รับประกันภัยเป็นผู้กำหนด
*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
สำหรับใครที่มี พ.ร.บ.รถยนต์ อยู่แล้วและอดสงสัยไม่ได้ว่าต้องซื้อประกันรถยนต์เพิ่มด้วยไหม เพราะเข้าใจว่า พ.ร.บ.รถยนต์ ก็ให้ความคุ้มครองอย่างเพียงพอสำหรับการเกิดอุบัติเหตุ แต่ความเป็นจริงแล้ว อุบัติเหตุบนท้องถนนไม่ได้จบแค่การจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น เพราะมีค่าใช้จ่ายอื่นอีกเพียบ
ลองนึกภาพว่า ในวันที่ฝนตกถนนลื่นคุณขับรถไปชนท้ายรถคันอื่นเข้าอย่างจัง ทำให้รถคู่กรณีเสียหาย และความถนนลื่นยังทำให้รถคุณไปเฉี่ยวชนคนเดินถนนจนได้รับบาดเจ็บเพิ่ม แน่นอนว่าคุณใช้ พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลได้ แต่ค่าซ่อมรถและค่าทรัพย์สินอื่นๆ พ.ร.บ.รถยนต์ ไม่คุ้มครอง
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ต้องซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจควบคู่กันไปด้วย เพราะเปรียบเสมือนเกราะป้องกันอีกชั้นหนึ่งที่จะช่วยให้คุณไม่ต้องจ่ายเงินเอง ดังนั้น การมีประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ จึงไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่คือการวางแผนรับมือความเสี่ยงอย่างมีสติกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นบนท้องถนนได้
ดังนั้น ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ แล้วกำลังมองหาประกันรถยนต์ภาคสมัครใจออนไลน์ การเลือกซื้อประกันรถยนต์ผ่านอิออนก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ทั้ง ประกันรถยนต์ชั้น 2+ MSIG และ ประกันรถยนต์ชั้น 3+ ไทยไพบูลย์ประกันภัย เพราะนอกจากจะซื้อได้รวดเร็วผ่าน AEON THAI MOBILE App ยังสามารถผ่อนประกันรถยนต์ แบบไม่มีดอกเบี้ยได้อีกด้วย ทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันในก้อนเดียว
จะเห็นได้ว่าการทำประกันรถยนต์ไม่ใช่แค่เรื่องของ "ความคุ้มครอง" อย่างเดียวอีกต่อไป แต่ยังเป็นเรื่องของ "ความคล่องตัวทางการเงิน" ที่คุณสามารถออกแบบได้ด้วยตัวเอง
*เงื่อนไขและความคุ้มครองเป็นไปตามที่บริษัทผู้รับประกันภัยเป็นผู้กำหนด
*ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 22%-25% ต่อปี
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 22%-25% ต่อปี
*รับประกันภัยโดย บริษัท ไทยไพบูลย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
*รับประกันภัยโดย บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
*นายหน้าประกันภัยโดย บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
เพราะอุบัติเหตุบนท้องถนนมักมาโดยไม่ทันตั้งตัว การมีทั้ง พ.ร.บ.รถยนต์ และประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเพิ่มเติมไว้ จึงเป็นอีกหนึ่งการเตรียมพร้อมที่ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินในยามเกิดเหตุร้ายแรง เพราะความเสียหายจากรถชนอาจไม่ได้จบแค่ค่ารักษาพยาบาล แต่ยังรวมถึงค่าซ่อมรถ ค่าชดเชย และความรับผิดชอบอื่นๆ ที่อาจตามมาอีกมากมาย
ขอบคุณข้อมูลจาก : สมาคมประกันวินาศภัยไทย, คปภ.