แนะแนววิธีการจัดการ สาระน่ารู้หรือเคล็ดลับดีๆในการใช้บัตรเครดิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงหลายๆเรื่องที่คุณไม่รู้มาก่อน มาอัพเดทกันก่อนใคร ที่นี่ ..
ทุกเรื่องบัตรเครดิตที่คุณควรรู้
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคที่การทำงานเต็มไปด้วยเป้าหมาย โปรเจกต์ และความเร่งรีบ ทำให้ “วันลาพักร้อน” กลายเป็นช่วงเวลาทองที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนต่างเฝ้ารอ เพราะไม่ใช่แค่การพักธรรมดา แต่คือการเติมพลังใจ เติมไฟให้ชีวิต รีเฟรชสมอง เพื่อให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยเสียดายในการใช้วันลาพักร้อน เพราะไม่ได้วางแผนลางานให้ดีพอ บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่า “ลาพักร้อนอย่างไรให้เวิร์คสุดๆ” นั้นเป็นอย่างไร หาคำตอบกันเลย
แค่ “ลางานให้เป็น” ก็สามารถเปลี่ยนวันหยุดธรรมดาให้กลายเป็นวันพักผ่อนแบบจัดเต็ม โดยที่ไม่ต้องใช้วันลาเยอะ ไม่ต้องปวดหัวกับงานค้าง ขอแค่รู้จังหวะ วางแผนล่วงหน้า และจัดการงานให้ดี เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้คุณใช้วันลาพักร้อนได้คุ้มค่า เพื่อเปลี่ยนการ “หยุดงาน” เป็น “การพักผ่อนที่แท้จริง” มาดู 3 ทริคนี้เลย
ก่อนจะกดยื่นลางาน ลองเปิดปฏิทินดูดีๆ ว่าเดือนไหนมีวันหยุดนักขัตฤกษ์บ้าง เพราะบางครั้งแค่แทรกวันลาเพิ่ม 1 วัน คุณก็อาจได้หยุดยาวถึง 4-5 วันแบบไม่ต้องเปลืองวันลาเยอะ การวางแผนลาพักร้อนล่วงหน้า ยังช่วยให้คุณมีเวลาจองตั๋ว จองที่พักล่วงหน้าในราคาที่ถูกกว่าปกติ หรือแม้แต่เคลียร์งานให้เสร็จทันก่อนหยุดได้อย่างสบายๆ แบบไม่ต้องหอบงานไปนั่งทำที่คาเฟ่ระหว่างทริปให้เสียอารมณ์
การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนลางานหรือลาพักร้อนคือหัวใจสำคัญที่จะทำให้วันลาของคุณเป็น “วันพักผ่อน” ไม่ใช่ “วันเครียดที่เปลี่ยนสถานที่ทำงาน” ดังนั้น ควรเริ่มจากการลิสต์งานทั้งหมดที่อยู่ในความรับผิดชอบ แล้วเคลียร์งานให้เรียบร้อย หรือส่งต่อให้ทีมช่วยดูแลในช่วงที่คุณไม่อยู่ พร้อมทั้งแจ้งหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานล่วงหน้าอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ โดยเฉพาะหากเป็นการลายาวหรือมีผลกระทบกับทีม
ที่สำคัญ อย่าลืมแจ้งช่องทางติดต่อในกรณีฉุกเฉิน เช่น อีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์ พร้อมระบุให้ชัดเจนว่า “จะตอบกลับเฉพาะกรณีเร่งด่วนเท่านั้นในเวลานอกงาน” เพื่อให้ทุกคนเคารพเวลาพักของคุณด้วยเช่นกัน
วันลาคือวันหยุด เมื่อเคลียร์ทุกอย่างเสร็จแล้วก็ได้เวลาปิดเมล ปิดแจ้งเตือน และให้สมองได้พักจากงานจริงๆ สักที เพราะช่วงนี้คือช่วงเวลาดีที่จะได้รีเซ็ตทั้งร่างกายและจิตใจ ให้กลับมาสดชื่น พร้อมรับมือกับโปรเจกต์ใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มพลัง อย่าลืมว่า การใช้วันลาพักร้อนให้คุ้มที่สุด ไม่ใช่แค่การหยุดแต่คือการพักให้เต็มที่แล้วกลับมาทำงานด้วยพลัง ความคิดสร้างสรรค์ และ ไฟในการทำงานที่ลุกโชนกว่าเดิม
จริง ๆ แล้ว การลาพักร้อนไม่จำเป็นต้องใช้วันลาเยอะอย่างที่หลายคนคิด เพียงแค่รู้จังหวะ และวางแผนให้ดี ลางานแค่ 1–2 วัน ก็สามารถเปลี่ยนเป็นวันหยุดยาวได้ง่าย ๆ ยิ่งในปี 2025 ที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์กระจายตัวในหลายๆ เดือน ดังนั้น การลาเพิ่มแทรกในวันหยุดนักขัตฤกษ์ จึงเป็นเทคนิคที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ซึ่งในครึ่งปีหลังของ 2025 มีด้วยกัน 4 เดือนที่สามารถใช้ทริควันลาพักร้อนแบบนี้ได้ คือ
การวางแผนลาพักร้อนแบบนี้ ช่วยให้คุณใช้วันลาเพียงเล็กน้อย แต่ได้หยุดยาวแบบเต็มอิ่ม แถมยังเก็บวันลาที่เหลือไว้ใช้ในช่วงเดือนที่ไม่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ อย่างเดือนกันยายนหรือพฤศจิกายนได้อีกด้วย
ไม่ว่าจะวางแผนลาพักร้อนล่วงหน้าหรือกำลังมองหาช่วงหยุดยาวในแต่ละเทศกาล หนึ่งในคำถามสำคัญที่คนทำงานมักสงสัยก็คือ “ลาพักร้อนได้กี่วัน?” และ “ต้องแจ้งลาล่วงหน้ากี่วันถึงเหมาะสม?” ซึ่งอิออนได้รวมคำถามและคำตอบจากกฎหมายแรงงาน และการใช้งานจริงในบริษัททั่วไปไว้ที่นี่แล้ว!
หากอ้างอิงจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 30 ระบุข้อความไว้ว่า “ลูกจ้างที่ทำงานครบหนึ่งปี มีสิทธิลาพักผ่อนได้ไม่น้อยกว่าหกวันทำงานต่อปี โดยได้รับค่าจ้าง” หมายความว่า
ในความเป็นจริงแล้วกฎหมายลาพักร้อนไม่ได้บังคับว่าต้องลาพักร้องล่วงหน้ากี่วัน แต่ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ของหลายๆ บริษัทมักจะทำตามกันเป็นธรรมเนียมและเพื่อเผื่อเวลาให้คนในทีมหรือหัวหน้า จัดการแผนงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อคุณใช้สิทธิ์วันลาพักร้อน เช่น
ทั้งนี้ แนวทางเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท ขึ้นอยู่กับนโยบายภายในของบริษัท หรือคู่มือพนักงานที่กำหนดไว้ล่วงหน้า หากไม่แน่ใจแนะนำให้ตรวจสอบกับฝ่าย HR หรือหัวหน้างานก่อนยื่นลา เพื่อให้การลาพักร้อนของคุณราบรื่น ไม่มีสะดุด และใช้สิทธิ์ได้อย่างเต็มที่
ถ้า “ลาพักร้อนในสิทธิ์ที่บริษัทกำหนดเอาไว้ ” จะยังได้ค่าจ้างเต็ม 100% ตามกฎหมาย แต่ถ้าลามากกว่าสิทธิ์ที่มีหรือใช้วันลาครบแล้วลาเพิ่ม บริษัทสามารถหักเงินหรือไม่จ่ายค่าจ้าง ได้ตามเงื่อนไขในสัญญา
ถือว่าผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายแรงงานไทยระบุไว้ชัดเจนว่า “ลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิลาพักร้อนได้ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน/ปี” หากนายจ้างไม่ให้วันลาโดยไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน ถือเป็นการละเมิดสิทธิ์และอาจถูกร้องเรียนได้ โดยคุณสามารถร้องเรียนผ่านสายด่วน 1506 หรือที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานใกล้บ้านได้เลย
คำตอบคือไม่มีผล เนื่องจากวันลาพักร้อนยังถือว่าเป็น “วันทำงานปกติที่ได้รับค่าจ้าง” บริษัทจึงยังต้องส่งเงินสมทบประกันสังคมตามปกติ ไม่ว่าคุณจะมาทำงานจริงหรืออยู่ระหว่างการใช้สิทธิ์ลาพักร้อน ดังนั้น ถ้าใครกำลังกังวลว่าลาพักร้อนเยอะจะกระทบสิทธิ์ประกันสังคมหรือยอดสะสม ก็สบายใจได้เลย
ไม่ว่าจะอยากวางแผนวันหยุดยาวไปเที่ยวต่างจังหวัด พักผ่อนชิล ๆ กับครอบครัว หรือแค่ใช้เวลากับเพื่อนเพื่อเติมพลังใจ การลาพักร้อนให้ตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์ คือหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้ใช้วันลาได้คุ้มสุด ๆ ยิ่งถ้าเตรียมทุกอย่า งไว้ล่วงหน้า ทั้งแผนการเดินทาง ที่พัก ไปจนถึงบัตรเครดิตที่ใช้รูดจ่ายแบบไม่ต้องควักเงินสดบ่อยๆ เช่น บัตรเครดิต อิออน คลาสสิค* หรือ บัตรเครดิต อิออน โกลด์* ก็ยิ่งช่วยให้วันหยุดครั้งนี้ราบรื่น พักได้เต็มที่ ไม่สะดุดกลางทาง รับรองทริปนี้เต็มไปด้วยความสุขแน่นอน
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
*ใช้เท่าที่จำเป็น และชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี
ขอบคุณข้อมูลจาก : กระทรวงแรงงาน, กรมประชาสัมพันธ์, mol.go.th